12 กันยายน 2555

บทที่ 11 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 11 

เทคโนโลยีสารสนเทศ
 

1.จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักศึกษาพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย5 ระบบ
ตอบ. 1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1.2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
1.3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนาคาร
1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ


2.สื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คืออะไร เราสามารถนำเอาสื่อผสมไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบตอบ. สื่อที่ประกอบด้วยสารสนเทศที่อาจอยู่ในรูปแบบของตัวอัีกษร ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โดยนำมาจัดไว้รวมกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ที่เรียกใช้สื่อ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เช่น การสร้างวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ทั่วไป เป็นต้น

3.เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบายตอบ. การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสารประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลดปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ 


4.DAISY มีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขปตอบ. digital accessible information system หรือ DAISY เป็นระบบหนังสือที่มีการบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ประโยชน์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านหนังสือได้ โดยสามารถค้นอ่านข้อมูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว หรือเลือกแบบก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆของหนังสือได้ เป็นต้น 


5.เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกกิจของในหลวงและข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับประเทศไทยคือเครือข่ายใดหน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบเครือข่ายนี้ตอบ. เครือข่ายกาญจนาภิเษกหรือ KPNet จะเกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ที่ประกอบด้วยงานหลักสองส่วนคือ เครือข่ายพระราชกรณียกกิจและเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทคเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเครือข่ายนี้ 


6 .จงยกตัวอย่างของการประมวลผลแบบ real time มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมอธิบายตอบ. การฝาก-ถอนเงินสดกับเครื่องให้บริการของธนาคารพาณิชย์ หากลูกค้าทำธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้นยอดเงินคงเหลือต่างๆในบัญชีที่มีอยู่จะทำการปรับปรุงเป็นยอดปัจจุบันทันที


7. Knowledge-based Economy คือรูปแบบของสังคมแบบใด จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างตอบ. รูปแบบของสังคมที่มุ่งเน้นให้เกิดภูมิปัญญาหรือความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ประชาชนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด


8.สาระสำคัญที่อยู่ในกรอบ IT2010 ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบายตอบ. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ (e- Government)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรม (e-Industry)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศใน ภาคการพาณิชย์ (e-Commerce)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการศึกษา (e-Education)
การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศในภาคสังคม (e-Society)


9. ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้างตอบ. ช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมืองประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
ตอบ. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ (e- Government)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรม (e-Industry)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศใน ภาคการพาณิชย์ (e-Commerce)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการศึกษา (e-Education)
การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศในภาคสังคม (e-Society)


10. Telemedicine คืออะไรตอบ. การแพทย์ทางไกล ที่นำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์โดยตรง โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย โดยแพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้นของหัวใจเสมือนว่าคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน เป็นต้น

บทที่ 10 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

แบบฝึกหัดที่ 10

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1. Internet Service Provider คืออะไร มีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไรกับอินเทอร์เน็ต
       ตอบ. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้กับบุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์ มีชื่อย่อว่า ISP โดยจะมีการเรียกเก็บค่าบริการทั้งแบบรายเดือนหรือแบบรายชั่วโมงสำหรับการเชื่อมต่อดังกล่าว ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องเชื่อมต่อเครืองข่ายของตนเองเข้ากับISP ก่อนทุกครั้งเมื่อต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต
2. จงสรุปความหมายของอินเทอร์เน็ต มาพอเข้าใจ        ตอบ. อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายที่่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ั่ทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน เปรียบเสมือนเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงทั่วถึงกันหมด นิยมใช้สำหรับการค้นหาและเผยแพร่ข้อมูลที่ต้องการ ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

3. เว็บเพจ และ เว็บไซท์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย        ตอบ.  เว็บเพจ คือหน้าเอกสารที่นำเสนอบนเว็บ มักเขียนด้วยภาษาที่เขียนบนเว็บโดยเฉพาะที่เรียกว่าHTML ซึ่งอาจจะเขียนขึ้นด้วยเครื่องมือช่วยเว็บบางตัวหรือถูกแปลงและให้แสดงผลด้วยภาษาคอมพิวเตอร์บนเว็บบางชนิด โปรแกรมที่ช่วยเขียนได้เช่น ที่เดียวกัน 

4.จงยกตัวอย่างของบริการบนอินเทอร์เน็ตที่นักศึกษาใช้มาอย่างน้อย 2 บริการ
         ตอบ. บริการ Chat
              - เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยสามารถพูดคุยกันสดๆ ระหว่างคนรู้จักในหมู่เพื่อนฟูงหรือคนที่ไม่เคยรู้จักรกันมากก่อน โดยมีเพียงที่อยู่อีเมลก็สามารถติดต่อกันได้แล้วสามารถรับ-ส่งไฟล์ต่างๆได้อีกด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็คือโปรแกรม MSNบริการโหลดเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต
              - สามารถหาเพลงที่เราอยากฟัง ฟังได้อย่างง่ายดาย แค่เพียงเข้าเว็บบร์อดหรือกระทู้ที่มีการแชร์ไฟล์เพลงไว้แล้ว ก็สามารถคลิ๊กดาวโหลดมาฟังได้ในทันที

5.  หากต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอเข้าใจ
          ตอบ. ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเสียก่อน ที่นิยมกันเป็นอย่างมากคือ ผ่านอุปกรณ์ Modem ซึ่งมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบธรรมดา แบบADSL หรือแบบไร้สายโดยต้องไปขอสมัครเป็นสมัครเป็นสมาชิกหรือเลือกซื้อบริการจาก ISP เสียก่อน ซึ่งอาจคิดราคาค่าบริการที่ แตกต่างกันออกไป จากนั้นทำการเชื่อมต่อเข้าไปยัง ISP ปลายทางเพื่อขอให้เปิดการเชื่อมต่อจึง จะสามารถใช้งานได้   

6.Modem คืออะไร
          ตอบ. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอนาล็อก(Modulation) เพื่อวิ่งผ่านสื่อส่งข้อมูล เช่น สายโทรศัพท์ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณกลับให้เป็นสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม(demodulation)เมื่อข้อมูลถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง

7.เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบ DNSมาใช้เพื่ออ้างอิงถึงชื่อเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ต
          ตอบ. การอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตอาจใช้หมายเลข IP addres เพื่ออ้างอิงได้แต่การเรียกใช้อาจทำให้ยุ่งยากเนื่องจากการจดจำหมายเลขดังกล่าวอาจไม่คุ้นหรือยากกว่าชื่อที่ สามารถพิมพ์หรือระบุเป็นอักษรได้ตรงๆ
         Domain Name System จึงได้ถูกนำเอามาใช้สนับสนุนให้เกิดการทำงานดังกล่าว โดยจะเป็นการแปลงชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ฟ้อนเข้ามา ให้เป็นหมายเลข IP addres ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผลนั้นเอง การแปลงข้อมูลจะกระทำโดยเครื่อง DNS Server โดยตรง

8.  โปรแกรมที่สามารถเปิดเรียกดูเอกสารบนเว็บได้ เราเรียกว่าโปรแกรมอะไร ให้นักศึกษา
ยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 4 โปรแกรม
             ตอบ. โปรแกรมเว็บราวเซอร์ ซึ่งสามารถเรียกดูเอกสารบนเว็บไซร์ได้ ทั้งที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ นิ่ง เสียง วิดีโอหรืออื่นๆ ผู้ใช้งานเพี่ยงแค่พิมพ์หรือป้อนข้อมูลโดยระบุชื่อเว็บไซร์หรือ URL ที่ถูก ต้อง โปรแกรมดังกล่าวก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่นั้นมาแสดงผลให้เห็นบนจอภาพได้ ตัวอย่าง
      โปรแกรมที่รู้จักกันดี เช่น Internet Explorer , Nescape Communication , 
Opera และ Plawanเป็นต้น

แบบฝึกหัดบทที่9 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดบทที่9

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


1.นักศึกษาคิดว่าเหตุใดจึงต้องนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
           ตอบ. เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกันเป็นเครือ ข่ายจึงทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่ายมากขึ้น ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถ ติดต่อถึงกันได้ทันที ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่ลงไปได้
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
2.ระบบเครือข่ายมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
             ตอบ. ข้อดีคือ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้เช่น เครื่องพิมพ์หรือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนั้นไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นก็สามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆ เครื่องหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้โดยง่าย ข้อเสียของระบบเครือข่ายอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น เรียกใช้ข้อมูลไดช้าเพราะ ข้อจำกัดของสายของเครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่าสายต่อภายในเครื่อง และยากต่อการควบคุมดูแล เพราะมีผู้ใช้งานหลายคนร่วมกัน ข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที หากผู้ใดผู้หนึ่งเรียกใช้ข้อมูล อยู่เป็นต้น 

3.สายเคเบิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพรหลายมากที่สุดคือสายชนิดใด จงบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของสายดังกล่าว
              ตอบ. สายแบบ UTP หรือแบบไม่มีฉนวนหุ้ม ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะมีราคาถูก และติดตั้งได้ง่าย เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์มี 8 เส้น ตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญานรบกวน การเดิน- สายต้องจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ HUB เท่านั้น

4.จงอธิบายวิธีการทำงานแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในระบบเครือข่าย มาพอเข้าใจ
               ตอบ. วิธีการนี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย "ฟัง" ว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญ- ญาณออกมาซึ่งถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะส่งไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้น จากหลาย ๆ สถานีฟร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง "ฟัง" และเข้าใจว่าสายว่างพร้อมกันผลก็คือสัญ-ญาณที่จะได้จะชนกันในสาย ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ ดังนั้นเครื่องแต่ละเครื่องจึงต้องสามารถตรวจจับการชนกันของข้อมูลได้ด้วย เมื่อเครื่องที่ส่งข้อมูลออกมาชนกัน ก็ให้หยุดส่งและรอโดยนับถอยหลัง ตามเวลาที่สุ่มขึ้นมาซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่อง แล้วค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
 5.จงสรุปความหมายของ Server และ Client มาพอเข้าใจ
              ตอบ. – Server คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับเครื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายมักมีหน้าที่และชื่อที่เรียกแตกต่างกันแล้วแต่การให้บริการ เช่น Mail server,File server,Web server Pint server,Database server เป็นต้น
                        - Client
 คือเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ มีหน้าที่ร้องขอหรือเรียกใช้บริการจากเครื่องแม่ข่ายเมื่อทำงานหรือขอข้อมูลบางอย่างนั้นเอง
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
6.HUB คืออะไร เอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกับระบบเครือข่าย
            ตอบ. ตัวรวมสายซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในการต่อ LAN โดยสามารถโยบย้ายสาย สลับเครื่องหรือ เพิ่มจำนานเครื่องได้ เนื่องจากสายทั่งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเรา อาจทำเป็นตู้หรือห้องเพื่อไว้เก็บสายด้วยก็ได้ อาจมีจำนวนพอร์ตเพื่อใช้สำหรับต่อสายต่างกันได้ในแต่ละตัวเช่น 5,8,10,16,24 พอร์ตหรือมากกว่านั้นเป็นต้น
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
7.จงยกตัวอย่างมาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูงพร้อมทั้งอธิบายมาพอเข้าใจ
             ตอบ. มาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูง มีดังต่อไปนี้
- 1000Base-T
 เป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก Ethernet โดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่าเดิมคือสาย UTP แบบCategory5
หรือดีกว่า การต่อนั้นใช้
 HUB ที่ทำมาให้รองรับความเร็ว 100 Mbps ด้วยเท่านั้น

- Gigabit Ethernet
 หรือเรียกกันเป็น 1000 Base-T (สาย UTP) หรือ 1000 Base-F (สายFiberoptic)สามารถ
ส่งข้อมูลได้ในระดับความเร็ว
 1000 Mbps หรือ 1 Gbps เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความ

เร็วสูงมาก เช่น งานกราฟฟิก หรือใช้เชื่อมต่อตรงช่วงที่เข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อสามารถรอง
รับงานจากเครื่องอื่นได้มากพร้อมกัน
- 10 Gigabit Ethernet
 เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอื่น ๆ คือทำได้ถึง 10000 Mbps หรือ 10 Gbps นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อกับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันระหว่างเมืองหรือ
WAN
 เป็นต้น<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
8. จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของสายโคแอกเชี่ยล
             ตอบ. สายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (Shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน โดยมักใช้กับเครือ
ข่ายแบบ
 Ethernet ดั้งเดิมซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรงในลักษณะที่ไม่ต้อง
มีอุปกรณ์รวมสายเข้ามาช่วย ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสายแบบอื่นที่มีราคา
ถูกและทำความเร็วได้ดีกว่า

<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
9.จงบอกถึงหน้าที่หลักของอุปกรณ์ Route
             ตอบ.  Router จะทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลาย
ทางที่ต้องการ หน้าที่หลักของ
 Router คือหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูลต่อไปยังเครือข่าย
อื่นซึ่งอาจใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ โดยมีการแปลงหรือจัดรูปแบบข้อมูลตามแบบ

บทที่ 8 การเขียนผังงาน

 
บทที่ 8
การเขียนผังงาน
1.  ผังงาน (flowchart) คืออะไร    ตอบ. ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า

2. อธิบายรูปแบบผังงานแบบเรียงลำดับ (sequence) แบบมีเงื่อนไข (decision) และแบบทำซ้ำ (loop)
    ตอบ. 1)การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับได้  
         2)การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
     3) การทำซ้ำ (Loop) คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

3. ขั้นตอนการทำงานซ้ำแบบ while…do และ do…until ต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ.  while...do เป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
        ส่วน do…until เป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน

4.จงบอกประโยชน์ของผังงาน
ตอบ. 1.) ทำให้มองเห็นรูปแบบของงานได้ทั้งหมด โดยใช้เวลาไม่มาก
          2.) การเขียนผังงานเป็นสากลสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้ทุกภาษา
          3.) สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
          4. )หากมีการพัฒนาระบบงานในลำดับต่อไป สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยศึกษาจากผังงาน จะสามารถศึกษาได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจง่ายกว่าการศึกษาจากโปรแกรม
5.จงเขียนขั้นตอน( Algorithm) และวาดผนังงาน(Flowchart) สำหรับการทำงานต่อไปนี้
การยืมหนังสือในห้อสมุด

การยืม

       หนังสือที่เหลือ = จำนวนหนังสือที่มี-จำนวนที่ยืม  

       แทนเป็นสมการ  A = B-N

การคืน

      จำนวนที่ยืม + หนังสือที่เหลือ = จำนวนหนังสือที่มี

        แทนเป็นสมการ N+ A = B

การขึ้น/ลงลิฟท์
 
เมื่อค่าน้อยกว่าให้บวก  เมื่อเท่ากันให้หยุด   เมื่อค่ามากกว่าให้ลบ  เมื่อเท่ากันให้หยุด

บทที่ 7 การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7
การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ
1.จงอธิบายความหมายของระบบมาพอสังเขป         ตอบ.ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทาง วิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันและเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะ ต้องทำการวิเคราะห์ จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน

2.นักศึกษาคิดว่าระบบมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ        ตอบ.ระบบ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับส่วนย่อยหรือองค์ประกอบอื่นหลายส่วน เช่น บุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ หากไม่มีระบบในการทำงานก็จะทำให้ยุ่งยากมากขึ้นจากเดิม หรือทำไม่ได้เลย เช่น ระบบในร่างกายของเราจะต้องประกอบไปด้วยระบบเส้นประสาท ระบบขับถ่าย ระบบหายใจระบบไหลเวียนของโลหิต ฯลฯ

3.เหตุใดจึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ        ตอบ.การ วิเคราะห์และออกแบบระบบมีความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ระบบเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะนักวิเคราะห์ระบบต้องติดต่อกับคนหลายคน ได้รู้ถึงการจัดการและการทำงานในองค์การ ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หลายแบบมากขึ้น ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ระบบได้ดี ควรมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม มีความรู้ทางด้านธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล ซึ่งใช้เป็นความรู้ในการออกแบบระบบที่มีความแตกต่างกันออกไปตาม สภาพงาน ดังนั้น หน้าที่ของนักวิเคราะห์ ก็คือการศึกษาระบบ แล้วให้คำแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาระบบนั้นจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งการทำงานทั้งหมดต้องมีลำดับขั้นตอนและการศึกษาวิธีการวิเคราะห์และการ ออกแบบระบบในแต่ละขั้นตอน ทำให้เข้าใจการวิเคราะห์ระบบนั้นๆ ดียิ่ง และสามารถออกแบบระบบใหม่โดยไม่ยากเย็นนัก โดยสามารถตัดสินใจว่า ระบบใหม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ประเภทไหน ใช้โปรแกรมอะไร ออกแบบ Input/output อย่างไรเป็นต้น

4.นักวิเคราะห์ระบบคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง        ตอบ.คือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือ ธุรกิจนั้นๆ การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบ เพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆเป็นอย่างไรและอะไรคือความต้องการของระบบ

5.นักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง        ตอบ. - มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
-มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
- มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
-ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ
- มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้ เกิดผลเสียแก่องค์กร
- ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
-มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
- สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
- มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและ ตรงกัน
-มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
- สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
- เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างถูกต้อง

6.วงจรการพัฒนาระบบคืออะไร ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย         ตอบ. วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) เป็น วงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ริเริ่มจนกระทั่งสำเร็จ วงจรการพัฒนาระบบนี้จะทำให้เข้าใจถึงกิจกรรมพื้นฐานและรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอนด้วยกัน




7.การกำหนดความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement) มีความสำคัญอย่างไร         ตอบ.   1.) ความต้องการที่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Functional Requirement)
1.1 คำบรรยายเกี่ยวกับการประมวลผลซึ่งระบบจะต้องทำ
1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่จะป้อน เข้าสู่ระบบ
1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับผลลัพธ์
1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในระบบ
1.5 รายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุม
                     2.) ความต้องการที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Non-Functional Requirement)
แต่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของระบบ ทำให้ได้มาซึ่งความต้องการที่เกี่ยวกับ
หน้าที่ของระบบ ได้แก่
2.1 เกณฑ์ในหารปฏิบัติงาน (Performance Criteria) เช่น เวลาในการตอบสนองในการแก้ไขข้อมูลในระบบ หรือ การรับข้อมูลจากระบบ
2.2 ปริมาณข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จะต้องรวบรวม หรือเก็บไว้ในระบบ
2.3 ความปลอดภัยของระบบ
3.) ความต้องการเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งาน (Usability Requirement)
3.1 ลักษณะผู้ใช้ที่จะใช้ระบบ
3.2 งานที่ผู้ใช้จะต้องทำ รวมทั้งเป้าหมายที่เขาจะพยายามบรรลุ
3.3 ปัจจัย หรือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้ระบบ
3.4 เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งผู้ใช้จะใช้ในการตัดสินเมื่อนำระบบไปใช้

8.เทคนิคการรวบรวมข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) คืออะไร จงอธิบาย            ตอบ. คือเทคนิคที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานต่างๆแผนผังองค์กร แบบสอบถาม การสังเกต รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานและผู้เกี่ยวข้องกับระบบเป็นต้น

9. Gantt Chart คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร            ตอบ. เป็นแผนภูมิแท่งชนิด Bar Chart อย่าง หนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ การเขียน Gantt chart จะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครง งาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบได้ อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากขึ้น
Gantt chart ที่สร้างในส่วนบนตามแนวนอนของตารางจะแสดงหน่วย ของเวลา ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนด้านข้างตามแนวตั้งของตาราง บรรทัดบนสุดจะเป็นชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ ที่
สามารถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไร

10. Tester คือใคร มีหน้าที่อะไร            ตอบ .คือ ผู้ทดสอบระบบ ทำหน้าที่ทดสอบระบบ เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่พัฒนาโปรแกรมได้เขียนไว้แล้ว

5 กันยายน 2555

บทที่ 6 ข้อมูลและการจัดการข้อมูล

บทที่ 6
 
ความหมายและแหล่งของข้อมูล
ความหมายของข้อมูล
     ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ
ตัวอย่าง
     - ข้อมูลที่เป็นตัวเลข
         - จำนวนนักเรียนโรงเรียนระยองวิทยาคม มี 3853 คน
         - คะแนนโดยเฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้น ม. 6 โรงเรียนระยองวิทยาคมคือ 2.64
     - ข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลข
         - จากการสังเกตพบว่านักเรียนโรงเรียนระยองวิทยาคมส่วนใหญ่มาโรงเรียนสาย
         - จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองพบว่าร้อยละ 61.5 มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจโรงเรียนในเรื่องของการดูแลระเบียบวินัย

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/reading/2008/05/13/entry-1

แหล่งของข้อมูล
     แหล่งข้อมูล หมายถึง สถานที่หรือแหล่งที่เกิดข้อมูล แหล่งข้อมูลจะแตกต่างกันไปตามข้อมูลที่ต้องการ เช่น บ้านเป็นแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับนักเรียน โดยบันทึก ข้อมูลไว้ในทะเบียนบ้าน ห้องสมุด เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ต่าง ๆ ข้อมูลบางอย่างเราอาจจะนำมาจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่งได้ เช่นราคาของเล่นชนิดเดียวกัน เราอาจจะหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลซึ่งได้แก่ร้านค้าหลายร้านได้ และข้อมูลหรือราคาที่ได้อาจจะแตกต่างกันไป หนังสือพิมพ์ เป็นแหล่งข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ตัวเลข รูปภาพ
     โดยปกติแล้ว ข้อมูลสำหรับการนำมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้นจะได้มาจากแหล่งที่มา 2 ประเภทด้วยกัน คือ
         1. แหล่งข้อมูลภายใน เป็นแหล่งข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กรทั่วไป ข้อมูลที่ได้นั้นอาจมาจากพนักงานหรือมีอยู่แล้วในองค์กร เช่น ยอดขายประจำปี ข้อมูลผู้ถือหุ้น รายงานกำไรขาดทุน ข้อมูลเหล่านี้จะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงต่างๆภายในองค์กรแต่เพียงอย่างเดียว อาจเป็นข้อมูลที่เปิดเผยให้กับบุคคลภายนอกทราบหรือไม่ก็ได้ หากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลักขององค์กรและมีความสำคัญมาก เช่น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่จะออกสู่ตลาดใหม่ ข้อมูลการทดลองการแปรรูปสินค้า หน่วยงานนั้นอาจมีการปกปิดไว้เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลได้
         2. แหล่งข้อมูลภายนอก เป็นแหล่งข้อมูลที่อยู่ภายนอกองค์กร โดยทั่วไปแล้วสามารถนำข้อมูลต่างๆเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในองค์กรหรือนำมาใช้กับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ระบบงานที่สมบูรณ์ขึ้นได้ เช่น ข้อมูลลูกค้า เจ้าหนี้ อัตราดอกเบี้ยสถาบันการเงิน กฎหมายและอัตราภาษีของรัฐบาล หรืออาจรวมถึงข้อมูลบริษัทคู่แข่งด้วย สามารถหาข้อมูลจากแหล่งภายนอกได้จากบริษัทผู้ให้บริการข้อมูลหรือจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่ออื่นๆได้
แหล่งข้อมูล : http://301math.exteen.com/20080116/entry-1
                   : http://school.obec.go.th/bansa_s/data1.html
                   : http://www.darunee.com/mit/download/doc4.doc
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
     1. ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง หรือถ้ามีความคลาดเคลื่อน (errors) ปนอยู่บ้าง ก็ควรที่จะสามารถควบคุมขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ปนมาให้มีความคลาดเคลื่อน น้อยที่สุด

     2. ความทันเวลา (timeliness) เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (up to date) และทันต่อความต้องการของผู้ใช้ ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม

     3. ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปทำให้นำไปใช้การไม่ได้

     4. ความกะทัดรัด (conciseness) ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย ควรจัดข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบที่กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ สะดวกต่อการใช้และค้นหา ผู้ใช้มีความเข้าใจได้ทันที

     5. ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผน กำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล

     6. ความต่อเนื่อง (continuity) การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา (time-series) เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้มในอนาคต
แหล่งข้อมูล : http://301math.exteen.com/20080118/entry-1
การแบ่งลำดับชั้นของการจัดการข้อมูล (hierarchy of date)
     ในการจัดการข้อมูลจะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้และประมวลผล ลำดับชั้นข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบมีดังต่อไปนี้

บิต (Bit = Binary Digit)
     เป็นลำดับชั้นของหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ดังที่ทราบกันดีแล้วว่าข้อมูลที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องเอามาแปลงให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองเสียก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้ เมื่อแปลงแล้วจะได้ตัวเลขแทนสถานะเปิดและปิด ของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า บิต เพียง 2 ค่าเท่านั้นคือ บิต 0 และบิต 1

ไบต์ (Byte)
     เมื่อนำบิตมารวมกันหลายๆบิต จะได้หน่วยข้อมูลกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า ไบต์ (Byte) ซึ่งจำนวนของบิตที่ได้นั้นแต่ละกลุ่มอาจมีมากหรือน้อยบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของรหัสที่ใช้เก็บ แต่โดยปกติกับการใช้งานในรหัสแอสกีทั่วไปจะได้กลุ่มของบิต 8 บิตด้วยกัน ซึ่งนิยมมาแทนเป็นรหัสของตัวอักษร บางครั้งจึงนิยมเรียกข้อมูล 1 ไบต์ว่าเป็น 1 ตัวอักษร

ฟีลด์ หรือเขตของข้อมูล (Field)
     ประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษรหรือไบต์ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเขตข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล เงินเดือน ตำแหน่ง

เรคคอร์ด (Record)
     เป็นกลุ่มของเขตข้อมูลหรือฟีลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บรวมกันเป็นหน่วยใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพียงหน่วยเดียว ปกติในการจัดการข้อมูลใดมักประกอบด้วยเรคคอร์ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลเป็นหลัก

ไฟล์ หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
     ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆเรคคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูแปบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาหลายๆคนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล และคะแนนที่ได้

ฐานข้อมูล (Database)
     เกิดจากการรวบรวมเอาแฟ้มตารางข้อมูลหลายๆแฟ้มที่มีความสัมพันธ์กันมาเก็บรวมกันไว้ที่เดียว โดยจะมีการเก็บคำอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างฐานข้อมูลหรือที่เรียกว่า พจนานุกรมข้อมูล (data dictionary) ซึ่งจะใช้อธิบายลักษณะของข้อมูลที่เก็บไว้ เป็นต้นว่า โครงสร้างของแต่ละตารางเป็นอย่างไร ประกอบด้วยฟีลด์อะไรบ้าง คุณลักษณะของแต่ละฟีลด์และความสัมพันธ์ของแต่ละแฟ้มเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือว่ามีความจำเป็นมากและจะถูกเรียกใช้ในระหว่างที่มีการประมวลผลฐานข้อมูลนั่นเอง


แผนภูมิการจัดเก็บข้อมูลของฐานข้อมูล
ที่มา : http://std.eng.src.ku.ac.th/~korawit/file/204112/7.ppt
แหล่งข้อมูล : http://www.darunee.com/mit/download/doc4.doc

การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล (File Organization)
     โดยปกติแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) เช่น ฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากมีความจุข้อมูลสูงและสามารถเก็บได้ถาวรแม้จะปิดเครื่องไป ซึ่งการจัดเก็บนี้จะต้องมีวิธีกำหนดโครงสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลมีความรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสมกับความต้องการ การเข้าถึงและค้นคืนข้อมูลจะอาศัยคีย์ฟีลด์ในการเรียกค้นด้วยเสมอ การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure)
     เป็นโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานที่สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เนื่องจากมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับเรคคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ การอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านตรงตำแหน่งใดๆที่ต้องการโดยตรงไม่ได้ เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคคอร์ดใดๆโปรแกรมจะเริ่มอ่านตั้งแต่เรคคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคคอร์ดที่ต้องการ ก็จะเรียกค้นคืนเรคคอร์ดนั้นขึ้นมา
     การใช้ข้อมูลเรียงลำดับนี่จึงเหมาะสมกับงานประมวลผลที่มีการอ่านข้อมูลต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆตามลำดับและปริมาณครั้งละมากๆตัวอย่างเช่น ใบแจ้งหนี้ค่าบริการไฟฟ้า น้ำประปา ค่าโทรศัพท์หรือค่าบริการสาธารณูปโภคอื่นๆที่มีเรคคอร์ดของลูกค้าจำนวนมาก เป็นต้น
     แฟ้มข้อมูลแบบนี้ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมขนาดใหญ่ก็จะจัดเก็บอยู่ในอุปกรณ์ประเภทเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) ซึ่งมีการเข้าถึงแบบลำดับ (Sequential access) เวลาอ่านข้อมูลก็ต้องเป็นไปตามลำดับด้วย คล้ายกับการเก็บข้อมูลเพลงลงบนเทปคาสเซ็ต ซึ่งสมมติว่าในม้วนเทปหนึ่งมีการเก็บเพลงได้ 10 เพลง ความยาวเพลงละ 3 นาที ซึ่งหากต้องการค้นหาเพลงใดก็ต้องเริ่มต้นจากเพลงแรกไปเป็นลำดับจนกว่าจะพบ

2. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Direct/Random File Structure)
     เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยตรง เมื่อต้องการอ่านค่าเรคคอร์ดใดๆสามารถทำการเลือกหรืออ่านค่านั้นได้ทันที ไม่จำเป็นต้องผ่านเรคคอร์ดแรกๆเหมือนกับแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่า ปกติจะมีการจัดเก็บในสื่อที่มีลักษณะการเข้าถึงได้โดยตรงประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสเก็ตต์, ฮาร์ดดิสก์หรือ CD-ROM เป็นต้น

3. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure)
     เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า ISAM (Index Sequential Access Method ) ซึ่งรวมเอาความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มและแบบเรียงตามลำดับเข้าไว้ด้วยกัน การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลวิธีนี้ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงกันตามลำดับไว้บนสื่อแบบสุ่ม เช่น ฮาร์ดดิสก์ และการเข้าถึงข้อมูลจะทำผ่านแฟ้มข้อมูลลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยชี้และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ สามารถทำงานได้ยืดหยุ่นกว่าวิธีอื่นๆโดยเฉพาะกับกรณีที่ข้อมูลในการประมวลผลมีจำนวนมากๆ
     โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับรูปแบบดรรชนีท้ายเล่มหนังสือที่มีการจัดเรียงหัวเรื่องแยกไว้เป็นลำดับตามหมวดหมู่อักษรตั้งแต่ A-Z หรือ ก-ฮ เมื่อสนใจหัวเรื่องใดโดยเฉพาะ ผู้อ่านสามารถไล่ค้นได้จากชื่อหัวเรื่องที่พิมพ์เรียงกันไว้เป็นลำดับนั้นเพื่อดูหมายเลขหน้าได้ ซึ่งทำให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล

โครงสร้างแฟ้ม
ข้อดี
ข้อเสีย
สื่อที่ใช้เก็บ
  1. แบบเรียงลำดับ
- เสียค่าใช้จ่ายน้อยและใช้งานได้ง่ายกว่าวิธีอื่นๆ
- เหมาะกับงานประมวลผลที่มีการอ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับและในปริมาณมาก
- สื่อที่ใช้เก็บเป็นเทปซึ่งมีราคาถูก
- การทำงานเพื่อค้นหาข้อมูลจะต้องเริ่มทำตั้งแต่ต้นไฟล์เรียงลำดับไปเรื่อย  จนกว่าจะหาข้อมูลนั้นเจอ  ทำให้เสียเวลาค่อนข้างมาก
- ข้อมูลที่ใช้ต้องมีการจัดเรียงลำดับก่อนเสมอ
- ไม่เหมาะกับงานที่ต้องแก้ไข  เพิ่ม  ลบข้อมูลเป็นประจำ  เช่นงานธุรกรรมออนไลน์
เทปแม่เหล็ก เช่น เทปคาสเซ็ต
  1. แบบสุ่ม
- สามารถทำงานได้เร็ว  เพราะมีการเข้าถึงข้อมูลเรคคอร์ดแบบเร็วมาก  เพราะไม่ต้องเรียงลำดับข้อมูลก่อนเก็บลงไฟล์
- เหมาะสมกับการใช้งานธุรกรรมออนไลน์ หรืองานที่ต้องการแก้ไข  เพิ่ม  ลบรากการเป็นประจำ
- ไม่เหมาะกับงานประมวลผลที่อ่านข้อมูลในปริมาณมาก
- การเขียนโปรแกรมเพื่อค้นหาข้อมูลจะซับซ้อน
- ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับได้
จานแม่เหล็กเช่น ดิสเก็ตต์,  ฮาร์ดดิสก์หรือ  CD-ROM 
  1. แบบลำดับเชิงดรรชนี
- สามารถรองรับการประมวลผลได้ทั้ง 2 แบบคือ  แบบลำดับและแบบสุ่ม
- เหมาะกับงานธุรกรรมออนไลน์  ด้วยเช่นเดียวกัน
- สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บดรรชนีที่ใช้อ้างอิงถึงตำแหน่งของข้อมูล
- การเขียนโปรแกรมเพื่อค้นหาข้อมูลจะซับซ้อน
- การทำงานช้ากว่าแบบสุ่ม  และมีค่าใช้จ่ายสูง
จานแม่เหล็ก  เช่น ดิสเก็ตต์,  ฮาร์ดดิสก์หรือ  CD-ROM 
แหล่งข้อมูล : http://www.darunee.com/mit/download/doc4.doc
ระบบฐานข้อมูล
     จากปัญหาของการประมวลผลแฟ้มข้อมูลข้างต้น แนวคิดของการแก้ปัยหาดังกล่าวจะใช้วิธีการจัดเก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันนำมาจัดเรียงรวมกันเสียใหม่อย่างเป็นระบบเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาและเรียกใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยจัดทำเป็น ระบบฐานข้อมูล นั่นเอง


แฟ้มข้อมูลที่นำมาเก็บรวมกันให้อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูล (Database)
ที่มา : http://www.darunee.com/mit/download/doc4.doc

     ระบบฐานข้อมูลสามารถใช้งานได้ทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว (Stand alone) เช่น ระบบฐานข้อมูลสินค้าคงคลังสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่ต้องการจัดเก็บฐานข้อมูลสินค้าไว้เฉพาะในคอมพิวเตอร์เครื่องที่พนักงานบัญชีใช้เพียงเครื่องเดียว หรือจะประยุกต์ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแม่ข่าย (Server) ผ่านระบบ LAN หรืออินเตอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการเป็นหลัก ตัวอย่างของการใช้งานระบบฐานข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เช่น การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลบนเว็บ (web database) สำหรับการเก็บข้อมูลสินค้า ข้อมูลการสั่งซื้อ ข้อมูลยอดขาย ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียน หรือข้อมูลอื่นๆที่ยินยอมให้ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
     การนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้งานนั้นจะช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น หากต่างคนต่างเก็บข้อมูลเอง ไม่ได้นำมาเก็บรวมกันเป็นฐานข้อมูลกลาง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกได้ เช่น ความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บข้อมูล หรือปัญหาของข้อมูลที่ไม่ตรงกัน
     การนำระบบฐานข้อมูลมาใช้จัดการกับข้อมูลนั้นมีแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานดังนี้
         - ลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (Reduced data redundancy)
         - ลดความขัดแย้งของข้อมูล (Reduced data inconsistency)
         - การรักษาความคงสภาพของข้อมูล (Improved data integrity)
         - ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Shared data)
         - ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล (Easier access)
         - ลดระยะเวลาการพัฒนาระบบงาน (Reduced development time)
     นอกจากนี้ฐานข้อมูลยังช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยผู้ดูแลระบบจะสามารถกำหนดสิทธิ์ได้ว่าให้ใครหรือผู้ใช้คนใดทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง เมื่อนำไปใช้ร่วมกับการพัฒนาระบบงานโปรแกรมฐานข้อมูล (Database application) ก็จะทำให้ระบบงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย โดยผู้ใช้โปรแกรมในแต่ละระดับก็สามารถใช้งานได้แตกต่างกัน
แหล่งข้อมูล : http://www.darunee.com/mit/download/doc4.doc
เครื่องมือสำหรับจัดการฐานข้อมูล  (DBMS)
     โดยปกติในการจัดการฐานข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์นั้นจะมีโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS (Database Management Systems) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นผู้จัดการฐานข้อมูลนั่นเอง โปรแกรมประเภทนี้มีการผลิตออกมาหลายระบบด้วยกัน แต่ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันดีคือ ระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์หรือ RDBMS (Relational Database Management System) เช่น Oracle, Sybase, Microsoft SQL Server, Microsoft Access, MySQL เป็นต้น

ลักษณะของ DBMS
     ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้ คือสามารถใช้งานได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากเหมือนกับการเขียนโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ ระบบดังกล่าวจะยอมให้ผู้ใช้กำหนดโครงสร้างและดูแลรักษาฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี และยังสามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่างๆตามระดับการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนด้วย เราอาจพบเห็นการใช้งาน DBMS สำหรับการจัดการฐานข้อมูลได้ในองค์กรธุรกิจโดยทั่วไป เช่น ระบบข้อมูลลูกค้า ระบบสินค้าคงคลัง ระบบงานลงทะเบียน ระบบงานธุรกรรมออนไลน์
     DBMS เป็นเหมือนตัวกลางที่ยอมให้ผู้ใช้เข้าค้นคืนข้อมูลได้โดยมีเครื่องมือสำคัยคือ ภาษาที่ใช้จัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล หรือ ภาษาคิวรี่ (query language) ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งสำหรับเรียกใช้ข้อมูล แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูล และยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางด้านฐานข้อมูล (Database application) ได้เป็นอย่างดี

ภาษาคิวรี่ (Query language)
     เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสอบถามหรือจัดการฐานข้อมูลใน DBMS โดยภาษาประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ภาษา SQL (Structure Query language ) คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มในทศวรรษที่ 1970 มีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายกับประโยคในภาษาอังกฤษมาก ซึ่งปัจจุบันองค์กร ANSI (American National Standard Institute) ได้ประกาศให้ SQL เป็นภาษามาตรฐานสำหรับสำหรับระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System หรือ RDBMS) ซึ่งเป็นระบบ DBMS แบบที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน
     ระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ทุกระบบจะใช้คำสั่งพื้นฐานของภาษา SQL ได้เหมือนกันแต่อาจมีคำสั่งพิเศษที่แตกต่างกันบ้าง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายก็พยายามทีจะพัฒนา RDBMS ของตนเองให้มีลักษณะที่เด่นกว่าระบบอื่นโดยเพิ่มคุณสมบัติที่เกินข้อจำกัดของ ANSI ซึ่งคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เข้าไป ตัวอย่างของคำสั่ง SQL มีดังนี้

คำสั่ง
ผลลัพธ์
DELETEใช้สำหรับลบข้อมูลหรือลบเรคคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
INSERTใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลหรือเพิ่มเรคคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
SELECTใช้สำหรับเลือกข้อมูลหรือเลือกเรคคอร์ดใดๆที่ต้องการจากฐานข้อมูล
UPDATEใช้สำหรับแก้ไขข้อมูลหรือแก้ไขเรคคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล



แผนผังความสามารถโดยทั่วไปของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ที่มา : http://www.darunee.com/mit/download/doc4.doc
แหล่งข้อมูล : http://www.darunee.com/mit/download/doc4.doc